Tony Tony Chopper Text Select

วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2555

หัวใจชายหนุ่ม



ผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
          พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 6 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าองค์ที่ 2 ในจำนวน 9 พระองค์ที่ประสูติแต่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง พระราชสมภพเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 ณ พระที่นั่งในพระบรมมหาราชวังชั้นใน มีพระเชษฐภคินีและพระอนุชาร่วมพระมารดา คือ
1. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์ (พ.ศ. 2421-2430)
2. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2423-2468)
3. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง (พ.ศ. 2424-2430)
4. จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ (พ.ศ. 2425-2463)
5. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ (พ.ศ. 2428-2430)
6. พลเรือเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา (พ.ศ. 2432-2467)
7. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย (พ.ศ. 2435-2466) และ
8. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2436-2484)
          เสวยราชสมบัติเมื่อวันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม ปีจอ พุทธศักราช 2453 และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 รวมพระชนมพรรษา 46 พรรษา เสด็จดำรงราชสมบัติรวม 16 ปี ทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาเมื่อเสด็จสวรรคตแล้วว่า "สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า" พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ในพระราชวงศ์จักรีพระองค์แรกที่ไม่มีวัดประจำรัชกาลในเรื่อง “หัวใจชายหนุ่ม” นี้ พระองค์ได้ใช้พระนามแฝงว่า “รามจิตติ” ได้ลงพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ดุสิตสมิตรายเดือนเมื่อ พ.ศ. 246
เกี่ยวกับผู้ทรงพระราชนิพนธ์ 
- เป็นบทพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ ๖ ทรงใช้นามปากกาว่า “รามจิตติ”
- ทรงเป็นโอรสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนามเดิม คือ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ
- ทรงได้รับสามัญญา ว่า พระมหาธีระราชเจ้า แปลว่า นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่
- ทรงคัดเลือกจดหมายฉบับที่น่าอ่าน ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ดุสิตสมิต ซึ่งเป็นหนังสือพืมพ์รายสัปดาห์

ลักษณะการแต่ง
          บันเทิงคดี โดยใช้การเขียนจดหมายเล่าเรื่องเป็นตอนๆต่อเนื่องกันไป เป็นจด ๑๘ ฉบับ
เรื่องย่อ นายประพันธ์เป็นนักเรียนนอกเรียนจบจากอังกฤษ มีความนิยมวัฒนธรรมผรั่ง ชื่นชมผู้หญิงสมัยใหม่จนได้แต่งงานกับผู้หญิงทันสมัย ที่ขาดคุณสมบัติขิงภรรยาที่ดี ชีวิตประสบอุปสรรคแต่ในที่สุดปัญหาต่างๆก็คลี่คลายไป

ชื่อและลักษณะนิสัยของตัวละครนายประพันธ์ เป็นผู้นิยมวัฒนธรรมตะวันตกอย่างผิดๆ ซึ่งบางสิ่งไม่ถูกต้องตามธรรมเนียมของไทย อันเปรียบเหมือนการดูถูกบ้านเกิดเมืองนอน เช่น คำกล่าวที่ว่า “ อีกอย่างหนึ่งในเมืองไทยยังมีคนครึอยู่มาก ที่ชอบเก็บลูกสาวไม่ให้เห็นผู้ชาย ” ซึ่งที่จริงแล้วเป็นธรรมเนียมที่ดีของไทย ที่กุลสตรีที่ดีงามมักจะเก็บตัวอยู่แต่ในบ้าน เพื่อฝึกการบ้านการเรือน อีกประการก็มีจิตใจที่อ่อนไหวครั้งเมื่อเห็นจดหมายที่ส่งให้แก่แม่อุไรนั้น ถูกฉีกเป็นเศษเล็กเศษน้อยร่วงออกมา “ ฉันเทออกแล้วจึงจำได้ว่าเป็นจดหมายที่ฉันมีไปถึงแม่อุไรนั่นเอง ขอให้นึกเถิดว่าฉันสะดุ้งปานใด” ตั้งแต่ครั้งนั้นเองทำให้ประพันธ์เปลี่ยนทัศนคติใหม่ๆที่มีต่อสตรีไทย ทั้งยังเป็นห่วงเป็นใยเสียด้วยซ้ำ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ดี ดังที่กล่าวว่า “ ถ้าเมื่อไรผู้หญิงไทยที่ดีๆ พร้อมใจกันตั้งกติกาไม่ยอมเป็นเมียคนที่เลี้ยงผู้หญิงไว้อย่างเลี้ยงไก่เป็นฝูงๆเท่านั้นแหละ ผู้ชายที่มักมากจักต้องเปลี่ยนความคิด และความประพฤติ”
แม่อุไร จากคำกล่าวของนายประพันธ์ที่ว่า “ขอบอกโดยย่อว่าหล่อนเป็นผู้หญิงที่งามที่สุดที่ฉันเคยได้พบในกรุงสยาม หล่อนคล้ายผู้หญิงฝรั่งมากกว่าผู้หญิงไทย” เห็นได้ว่าบุคลิกดูเป็นคนมั่นใจในตัวเอง กล้าคิดกล้าพูดแบบคนตะวันตก แต่หากกาลเวลาเปลี่ยนแปลงไปทำให้เห็นว่าคนเราสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมกันได้ตลอดเวลาตราบใดที่ยังไม่หมดลมหายใจ กิริยาดูหยาบกระด้าง ดูแคลน เห็นผิดเป็นชอบ ดังที่ว่า “เห็นว่าถ้าโกรธผัวได้ต่อหน้าคนเป็นเกียรติยศดี พูดจาต้องขู่ฟ่อๆ ราวกับแมวที่ดุเสมอ” และแสดงให้เห็นถึงกิริยามารยาทที่ไม่ใช่แบบแผนที่สุภาพเรียบร้อยของคนไทย “แม่อุไรเดินกระทืบตีนปังๆ ขึ้นไปถึงห้องรับแขก นั่งลงทำหน้ามู่ทู่ไม่พูดไม่จาอะไรเป็นครู่ใหญ่ๆ” อีกสิ่งหนึ่งคือ การที่ไม่รู้จักรักษานวลสงวนตัว ยอมทอดกายให้ชายถึงสองคน คือ นายประพันธ์ ทำให้ท้องก่อนแต่ง และพระยาตระเวนนคร ที่มีนางบำเรออยู่แล้วถึง ๗ คน ทำให้ผิดหวังในความรักซ้ำแล้วซ้ำเล่า
พระยาตระเวนนคร เป็นคนเจ้าชู้ประเภท เสือผู้หญิง ดังที่นายประพันธ์กล่าวไว้ว่า “ถ้าเห็นผู้หญิงสวยๆ และมีคนตอมจะต้องพยายามให้ได้หญิงคนนั้นจนได้ แต่ได้แล้วมักจะเบื่อ” ทั้งยังมีปัญญาที่เฉลียวฉลาด จากการที่ ยังไม่ยอมตกลงเป็นผัวเมียโดยราชการกับแม่อุไร ทำให้ไม่ต้องคอยพาแม่อุไรไปออกงานสังคมมากนัก จึงมีโอกาสที่จะพบปะกับหญิงใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา
หลวงพิเศษผลพานิช เป็นพ่อค้าที่มั่งมี แต่มีความจริงใจ ดังคำที่ว่า “จริงอยู่หลวงพิเศษนั้นรูปร่างไม่ใช่เทวดาถอดรูป แต่หวังใจว่าคงจะเข้าลักษณะขุนช้าง คือ ถึงรูปชั่วใจช่วงเหมือนดวงเดือน” จึงนับว่าเป็นบุญของแม่อุไรที่ได้พบคนที่ดู

ข้อคิดคติธรรม
1. พฤติกรรมของนายประพันธ์เป็นพฤติกรรมที่เลียนแบบพฤติกรรมของปุถุชนที่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ทั้งความถูกต้องและผิดพลาด เปรียบเสมือนกับมนุษย์ที่สามารถผิดพลาดได้ตลอดเวลา แต่อย่าลืมนำความผิดพลาดนั้นมาใช้ในการแก้ไขตนเอง และปรับทัศนคติที่ผิดอยู่ให้ดีขึ้น จนสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุขต่อไป
 2. อย่าหลงวัฒนธรรมตะวันตกจนลืมจิตสำนึกแห่งความเป็นไทย ควรเก็บสิ่งที่ดีมาปฏิบัติ แล้วเก็บสิ่งที่ไม่ดีไว้เป็นอุทาหรณ์ ขณะเดียวกันก็อย่าดูถูกบ้านเกิดเมืองนอนว่าหัวโบราณ เก่าคร่ำครึ เพราะวัฒนธรรมที่ดีงามของไทยนี้แลจึงสามารถจรรโลงประเทศให้อยู่ได้มาสืบทุกวันนี้
 3. การแต่งงานของหนุ่มสาวที่มาจากการชอบพอกันแค่เพียงเปลือกนอก ขาดการรู้จักและเข้าใจกันอย่างแท้จริงย่อมไม่ยั่งยืนและอับปางลงอย่างง่ายดาย เช่นกรณีของประพันธ์ และแม่อุไรที่รักเร็วใจเร็ว ทำให้ความรักนั้นจบลงในเวลาอันสั้น
 4. การใช้เสรีภาพในทางที่ผิดโดยปล่อยเนื้อปล่อยตัวจนกระทั่งพลาดพลั้งชิงสุกก่อนห่ามจะต้องประสบชะตากรรมอันเลวร้าย ดังแม่อุไรที่ปล่อยตัวได้เสียกับประพันธ์ทำให้ไม่เป็นที่พอใจของผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่าย นำไปสู่การหย่าร้างกันวันข้างหน้า
 5. คนเราควรดำเนินชีวิตในทางยุติธรรม ดังเช่นประพันธ์ เขาไม่ชอบการใช้เส้นสาย แต่ไม่สามารถหางานได้ด้วยตนเอง จึงต้องยอมรับงานที่ผู้ใหญ่ฝากฝังให้ แต่ก็ได้ใช้ความสามารถของตนเองทำให้มีความก้าวหน้าในราชการ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงบริบาลบรมศักดิ์ในที่สุด

ประโยชน์และคุณค่า
คุณค่าด้านวรรณศิลป์          มีการเริ่มต้นเรื่องได้อย่างหลงใหลและน่าติดตาม อีกทั้งการดำเนินเรื่องก็ชวนให้ติดตามไปจนจบเรื่อง สำนวนภาษาในการเขียนจดหมายและการเลือกใช้คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ รวมทั้งคำแสลงมากมายสอดคล้องกับลักษณะของประพันธ์ผู้ยังอยู่ในวัยหนุ่มและเพิ่งกลับมาจากต่างประเทศใหม่ๆ นอกจากนั้นดดเนื้อความของจดหมายก็เป็นมุมมองหรือทัศนะที่ตรงไปตรงมาเหมือนจดหมายส่วนตัวทั่วๆ ไป กลวิธีที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ทำให้หัวใจชายหนุ่มมีความสมจริงเป็นอย่างยิ่ง และสามารถสื่อแนวคิดที่ต้องการนำเสนอได้แจ่มแจ้งชัดเจน
คุณค่าด้านเนื้อหา
          มีการสร้างตัวละครได้อย่างสมจริง แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมของปุถุชนที่มีทั้งสิ่งที่ถูกต้องและผิดพลาด และมีทั้งความสมควรและไม่สมควร โดยมีลักษณะที่สมจริง สมเหตุสมผล โดยประพันธ์ถือเป็นคนที่มีแนวคิดสมัยใหม่ซึ่งบางครั้งตรงกันข้ามกับความเป็นไทยที่เหมาะสม แต่ยังสามารถกลับตัวกลับใจมาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ จึงมีความสมบูรณ์ทั้งตัวละคร และเนื้อหาของตัวละครด้วย
คุณค่าด้านสังคม          บทกวีย่อมสะท้อนสภาพสังคมของกวีตามมุมมองของกวี ซึ่งสามารถเข้าถึงสังคมไทยในสมัยรัชกาลที่ ๖ ซึ่งแตกต่างกับสังคมยุคปัจจุบันอย่างมาก ทั้งในด้านของการปกครองที่กล่าวไว้ในเรื่องว่า “ท่านว่าขายของได้ดีอย่างไรๆ ก็จะเป็นอะไรไม่ได้ นอกจากขุนนางกรมท่าซ้าย ทั้งกว่าจะได้เป็นหลวงก็อีกหลาย แล้วอาจจะเป็นหลวงตั้งแต่อายุ ๓๐ เมื่ออายุ ๔๕ จึงได้เป็นพระ แล้วก็ยังเป็นพระจนทุกวันนี้ และไม่แลเห็นทางที่จะเป็นพระยาด้วย” แสดงให้เห็นว่าบ้านเมืองในอดีตกับปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ทั้งสภาพจิตใจคนในสมัยต่างๆ ก็แตกต่างกันไปด้วย ทางที่ดีหากเราสามารถกระทำความดีได้ ไม่ว่าจะอยู่ในยุคสมัยใดก็ตาม ก็ควรหมั่นทำความดีไว้ เพราะแม้ตัวได้วายลง แต่ความดีมิได้วายตามไปด้วยอย่างแน่นอน

เนื้อเรื่องย่อ           นายประพันธ์เขียนจดหมายถึงนายประเสริฐซึ่งเป็นเพื่อนรักของเขา นายประพันธ์เป็นนักเรียนนอกจากประเทศอังกฤษ เมื่อกลับมาถึงเมืองไทย พ่อของเขาหวังจะให้แต่งงานกับแม่กิมเน้ย แต่ประพันธ์ไม่ชอบใจการแต่งตัวของหล่อนที่ประดับประดามากเกินไปและดูเกินงาม จนทำให้เขาปลีกตัวออกไปจากการคลุมถุงชนจนได้พบกับแม่อุไร ซึ่งเป็นหญิงสาวหัวนอกด้านวัฒนธรรมตะวันตกเช่นเดียวกับประพันธ์ ทั้งสองถูกคอกัน มักพากันเที่ยวเตร่สม่ำเสมอ จนในที่สุดเกิดได้เสียกันจนแม่อุไรตั้งครรภ์ จึงจำเป็นต้องแต่งงานกันบนความไม่พอใจของผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่าย แต่เมื่อแต่งงานไปนานๆ นิสัยของแม่อุไรได้เปลี่ยนไป ชอบข่มสามีต่อหน้าคนอื่น หยาบกระด้าง ไร้ซึ่งมารยาท จนหนักเข้าเธอเริ่มเหินห่างประพันธ์ไปคบกับพระยาตระเวนนคร เสือผู้หญิงที่ประสงค์ได้ผู้หญิงคนไหนย่อมได้ทุกครั้งไป รวมถึงแม่อุไรที่ต้องหย่ากับประพันธ์ด้วยหวังว่าพระยาตระเวนนครจะให้เกียรติเธอราวภรรยาคนสำคัญ แต่กลับตาลปัตรทางรักของแม่อุไรพังลงเมื่อพระยาตระเวนนครมีหญิงคนใหม่ เธอจึงกลับมาขอคืนดีกับประพันธ์ แต่ถูกปฏิเสธ จนเหตุการณ์ต่างๆ ผ่านชีวิตของนายประพันธ์ไป ทำให้เขาเริ่มคิดได้ว่าบางทีการดำเนินชีวิตแบบชาวตะวันตกนั้นมิสามารถใช้ได้กับวิถีแห่งความเป็นไทย ในที่สุดเขาได้พบกับนางสาวศรีสมาน หญิงสาวผู้ที่เขาคิดว่าจะเยียวยา และบำรุงชีวิตของเขาให้ฟื้นคืนมาได้ ส่วนแม่อุไรก็ได้พบรักกับหลวงพิเศษผลพานิช พ่อค้าผู้มั่งมี แม้หน้าตาของเขาจะมิได้หล่อเหลา แต่มีเงินมากพอที่จะซื้อความสุขให้กับแม่อุไรได้เช่นกัน เรื่องราวต่างๆ ได้จบลงด้วยจดหมายฉบับสุดท้ายแต่เพียงเท่านี้...

จดหมายฉบับที่๑
ประพันธ์เขียนจดหมายถึงนายประเสริฐขณะที่กำลังนั่งเรือกลับบ้าน เขียนอาลัยอาวรณ์ต่อการจากลอนดอน จะไม่ได้ทำในสิ่งที่อยากทำอีกแล้วชอบทำ เคยทำ เมื่อมาอยู่เมืองไทย และนอกจากนั้นนายประพันธ์ยังได้ฝากความรักถึงหญิงคนรักอีกด้วย
เป็นฉบับแรก เนื้อความในจดหมายกล่าวถึงการเดินทางกลับมายังประเทศไทยจากลอนดอนของนายประพันธ์ นอกจากนั้นยังบรรยายถึงความเสียใจที่ไปกลับประเทศไทยและการดูถูกบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง และได้เล่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างการเดินทางกลับภายในเรือโดยสาร คือ ได้พบปะกับผู้หญิงคนหนึ่งที่ตนเองสนใจ แต่ต้องผิดหวังเนื่องจากหล่อนมีหวานใจมารอรับ  ที่ท่าเรืออยู่แล้ว
คำทับศัพท์     :     เร็สตอรังค์   ศิวิไลซ์    อันศิวิไลซ์
คำแสลง        :     โก้

จดหมายฉบับที่๔
            จดหมายในฉบับที่ 4 นี้กล่าวถึง การกลับมาถึงประเทศไทย และการเข้ารับราชการ  ซึ่งใช้เส้นแต่ไม่สำเร็จผล นอกจากนี้คุณพ่อของนายประพันธ์ได้หาภรรยาไว้ให้นายประพันธ์แล้ว หล่อนชื่อ กิมเน้ย เป็นลูกสาวของนายอากรเพ้ง ซึ่งพ่อของนายประพันธ์รับรองว่าเป็นคนดีสมควรแก่นายประพันธ์ด้วยประการทั้งปวง แต่ด้วยนายประพันธ์เป็นนักเรียนนอก จึงไม่ยอมรับเรื่องการคลุมถงชน จึงได้ขอดูตัวแม่กิมเน้ยก่อน นอกจากนั้นในจดหมายได้เล่าถึง การพบปะกับผู้หญิง คนหนึ่งที่ตนถูกใจที่โรงพัฒนากรด้วย
คำทับศัพท์   :    แบชะเลอร์   ฟรี   แฟแช่น   โฮเต็ล
สำนวนที่ได้  :    เดินเข้าท้ายครัว   หมอบราบคาบแก้ว  คลุมถุงชน   ลงรอยเป็นถ้าประนม

จดหมายฉบับที่๕ 
         กล่าวถึง การได้เข้ารับราชการของนายประพันธ์ นายประพันธ์ได้เข้ารับราชการในกรมพานิชย์และสถิติพยากรณ์ และนายประพันธ์ได้พอกับแม่กิมเน้ย หน้าตาของหล่อนเหมือนนายซุนฮูหยิน แต่ก็ยังไม่เป็นที่ถูกใจของนายประพันธ์ นอกจากนั้นนายประพันธ์ได้เล่าถึงผู้หญิงที่เจอในโรงพัฒนากร หล่อนชื่อนางสาวอุไร พรรณโสภณ เป็นลูกสาวของพระพินิฐพัฒนากร
คำทับศัพท์     :    นางซุนฮูหยิน

จดหมายฉบับที่๖ 
           กล่าวถึง การได้นับพบแม่อุไร การไปเที่ยวในระหว่างงานฤดูหนาว ทุกวัน ทุกคืน และได้บรรยายถึงรูปร่างลักษณะองแม่อุไร ว่าเป็นคนสวยน่ารัก และกล่าวว่า แม่อุไรงามที่สุดในกรุงสยาม แม่อุไรมีลักษณะเหมือนฝรั่งมากกว่าคนไทย มีการศึกษาดี โดยสิ่งที่ นายประพันธ์ชอบมากที่สุดคือ การเต้นรำ ซึ่งแม่อุไรก้อเต้นรำเป็นอีกด้วย
คำทับศัพท์ : ปอปูล่าร์ สัปเป้อร์ เอดูเคชั่น โช 
สำนวนที่ได้ : ทำตัวเป็นหอยจุ๊บแจง ค้อนเสียสามสี้วง

ฉบับที่๙          กล่าวถึง การแต่งงานการแม่อุไรโดยรีบรัด เนื่องจากสาเหตุการนัดพบเจอกันบ่อยครั้ง จนทำให้แม่อุไรตั้งครรภ์ขึ้นมา การสู่ขอนั้นคุณพ่อได้ไปขอให้ท่านเจ้าคุณมหาดเล็กไปสู่ขอ หลังจากแต่งงานทั้งคู่ได้ไปฮันนี่มูนที่หัวหินด้วยกัน.
คำทับศัพท์     :    ฮันนีมูน
สำนวนที่ได้   :     โรงเรียนฝึกหัดเจ้าชู้    ชิงสุกก่อนห่าม

ฉบับที่๑๑            ประพันธ์กลับกรุงเทพได้ 3 อาทิตย์ มาอยู่ที่บ้านใหม่ บ้านใหม่ที่เขาคิดว่าไม่มีความสุขเลย ประพันธ์ได้เล่าให้พ่อประเสริฐฟังถึงตอนที่อยู่เพชรบุรีว่า ได้ทะเลาะกับแม่อุไร แล้วเลยกลับกรุงเทพ มีเรื่องขัดใจ มีปากเสียงกันตลอดขากลับ เมื่อมาถึงที่บ้านใหม่ ก็ต้องมีเรื่องให้ทะเลาะกัน แม่อุไร ไม่อยากจัดบ้านขนของ เพราะถือตนว่าเป็นลูกผู้ดี และนอกจากนั้นก็มีเหตุให้ขัดใจกันเรื่อยๆ ไม่ว่าประพันธ์จะทำอะไร แม่อุไรก็มองว่าผิดเสมอ
คำทับศัพท์ : หัวเมือง หน้ามู่ทู่ บ่าว

ฉบับที่๑๒          แม่อุไรได้แท้งลูก และสิ้นรักประพันธ์แล้ว แต่ประพันธ์ก็ยังทนอยู่กับแม่อุไร ยอมฝืนรับชะตากรรม แม่อุไรชอบไปเที่ยวและชอบไปคนเดียว พอประพันธ์ถามว่าไปไหน แม่อุไรก็โกรธฉุนเฉียว นานเข้าห้างร้านต่างๆก็ส่งใบทวงเงินมาที่ประพันธ์ ประพันธ์จึงเตือนแม่อุไร แต่แม่อุไรกลับสวนกลับมาว่า ประพันธ์ไม่สืบประวัติของเธอให้ดีก่อน และเธอก็จะไม่ปรับเปลี่ยนตัวเอง ประพันธ์จึงต้องไปขอเงินพ่อเพื่อใช้หนี้ ต่อมาพ่อของประพันธ์จึงลงแจ้งความในหนังสือพิมพ์             เรื่องจะไม่ชดใช้หนี้ให้แม่อุไร เมื่อแม่อุไรเห็นแจ้งความ จึงลงย้อนกลับบ้าง แล้วแม่อุไรก็กลับไปอยู่บ้านพ่อของเธอ คุณหลวงเทพปัญหามาหาประพันธ์ คุยเรื่องต่างๆกัน รวมถึงเรื่องแม่อุไร ที่เที่ยว อยู่กับพระยาตระเวนนคร ด้วยความเป็นห่วงแม่อุไร จึงส่งจดหมายไปกล่าวเตือน แต่ถูกฉีก                 เป็นชิ้นๆ กลับมา ต่อมาหลวงเทพก็มาหาประพันธ์ เพื่อบอกว่าแม่อุไรไปค้างบ้านพระยา                   ตระเวนนคร แล้ว และหลวงเทพก็รับธุระเรื่องขอหย่า ตอนนี้ประพันธ์จึงกลับมาโสดอีกครั้ง
สำนวนที่ได้   :     เมฆทุกก้อนมีซับในเป็นเงิน   อุทิศตัวเป็นพรหมจรรย์
คำศัพท์          :    ฉิว

ฉบับที่๑๓            ประพันธ์มีความสุขที่ได้กลับมาเป็นโสดอีกครั้ง ส่วนแม่อุไรก็ไปอยู่กับพระยาตระเวน             พระยาตระเวนมีนางบำเรออยู่ถึง 7 นาง และทั้งหมดก็แผลงฤทธิ์เวลาพระยาไม่อยู่ พระยาตระเวนจึงหาบ้านให้แม่อุไรอยู่อีกหนึ่งหลัง ประพันธ์ได้ย้ายตำแหน่งการทำงาน มาเป็นผู้ช่วยเจ้ากรมโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ ทางเสือป่า ประพันธ์ เข้าประจำกรมม้าหลวง
คำทับศัพท์     :    อินเตอเร็สต์   อ๊อกฟอร์ด   เล็กเชอร์
คำศัพท์          :    นางสุวิญชา   ผู้รั้ง   หลวง

ฉบับที่๑๕           ประพันธ์คิดว่างานเฉลิมฉลองพระชนมพรรษาคงจะสนุกมาก พระยาตระเวนก็สนุกเหมือนกัน เพราะไปไหนมาไหนเป็นชายโสด เนื่องจากพระยาตระเวนกับแม่อุไรยังไม่ได้เป็นผัวเมียกันตามกฎหมาย ตอนนี้พระยาตระเวนติดผู้หญิงที่ชื่อสร้อย แต่แม่อุไรก็ยังได้แต่นิ่งเฉยไม่สามารถทำอะไรได้
สำนวนที่ได้   :     ขนมปังครึ่งก้อนดีกว่าไม่มีเลย
คำศัพท์          :    ฉุน แตรตรวจ  หัวนอก

ฉบับที่๑๗ 
          ประพันธ์ไปอยู่ที่ค่ายตอนนี้ได้เลื่อนยศเป็นนายหมู่ใหญ่ขึ้น พอกลับบ้าน แม่อุไรก็มาหาประพันธ์ที่บ้าน หล่อนมาง้อประพันธ์ให้ชุบเลี้ยงหล่อนอีกครั้ง เพราะหล่อนไม่มีที่ไป บ้านที่หล่อนเคยอยู่ พระยาตระเวนก็ยกให้แม่สร้อย จะไปหาพ่อ ก็เคยพูด อวดดีกับพ่อไว้ แต่ประพันธ์เห็นว่า ให้หล่อนกลับไปง้อพ่อจะดีกว่า หล่อนจึงไปง้อพ่อแล้วก็ไปอยู่กับพ่อ
สำนวนที่ได้ : ขุดอู่
คำศัพท์ : เรี่ยม

ฉบับที่๑๘ 
          แม่อุไรได้แต่งงานกับหลวงพิเศษ ผลพานิช พ่อค้ามั่งมี ประพันธ์จึงคลายห่วง ส่วนประพันธ์ก็ได้รักชอบพอกับ นางสาวศรีสมาน ลูกสาวพระยาพิสิฐเสวก 
สำนวนที่ได้ : เทวดาถอดรูป
คำศัพท์ : เพื่อนบ่าว