การโต้วาที เป็นการพูดเพื่อโต้เเย้งอย่างมีเหตุผลในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง โดยใช้ศิลปะการพูดเพื่อจูงใจบุคคลอื่นให้คล้อยตามความคิดเห็นของตน
การโต้วาที มีองค์ประกอบ ดังนี้
๑. ญัตติ คือ หัวข้อที่นำมาโต้วาที ซึ่งหัวข้อที่จะนำมาโต้วาทีต้องมีลักษณะเป็นการขัดเเย้งหรือเป็นการเสนอความคิดเห็น เช่น เรียนดีกว่าทำงาน
๒. ประธานการโต้วาที เป็นผู้ดำเนินการโต้วาที มีหน้าที่กล่าวนำการโต้วาที บอกจุดประสงค์และญัตติการโต้วาที แนะนำผู้โต้วาที เชิญผู้โต้วาทีขึ้นพูด และรักษาเวลาในการพูดของเเต่ละคน
๓. คณะกรรมการตัดสิน จะทำหน้าที่พิจารณาว่าฝ่ายใดพูดได้มีเหตุผลดีกว่ากัน และให้คะแนนแต่ละฝ่าย ในบางครั้งอาจไม่มีคณะกรรมการตัดสินก็ได้ แต่จะให้ผู้ฟังเป็นผู้ตัดสินโดยใช้เสียงปรบมือที่ดังเเละนานกว่าเป็นเกณฑ์ตัดสิน
๔. ผู้โต้วาที จะเเบ่งเป็น ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายที่เสนอและฝ่ายค้าน โดยทั้ง ๒ ฝ่ายจะมีผู้พูดฝ่ายละเท่าๆ กัน ฝ่ายเสนอจะมีหัวหน้าฝ่าย ๑ คน และมีผู้สนับสนุนฝ่ายเสนออีกไม่เกิน ๓ คน ซึ่งฝ่ายค้านก็เช่นเดียวกัน คือ มีหัวหน้าฝ่ายค้าน ๑ คน และผู้สนับสนุนฝ่ายค้านอีกไม่เกิน ๓ คน
๕. เวลา ซึ่งเวลาในการโต้วาทีจุถูกกำหนดขึ้นตามความเหมาะสม
การโต้วาที มีองค์ประกอบ ดังนี้
๑. ญัตติ คือ หัวข้อที่นำมาโต้วาที ซึ่งหัวข้อที่จะนำมาโต้วาทีต้องมีลักษณะเป็นการขัดเเย้งหรือเป็นการเสนอความคิดเห็น เช่น เรียนดีกว่าทำงาน
๒. ประธานการโต้วาที เป็นผู้ดำเนินการโต้วาที มีหน้าที่กล่าวนำการโต้วาที บอกจุดประสงค์และญัตติการโต้วาที แนะนำผู้โต้วาที เชิญผู้โต้วาทีขึ้นพูด และรักษาเวลาในการพูดของเเต่ละคน
๓. คณะกรรมการตัดสิน จะทำหน้าที่พิจารณาว่าฝ่ายใดพูดได้มีเหตุผลดีกว่ากัน และให้คะแนนแต่ละฝ่าย ในบางครั้งอาจไม่มีคณะกรรมการตัดสินก็ได้ แต่จะให้ผู้ฟังเป็นผู้ตัดสินโดยใช้เสียงปรบมือที่ดังเเละนานกว่าเป็นเกณฑ์ตัดสิน
๔. ผู้โต้วาที จะเเบ่งเป็น ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายที่เสนอและฝ่ายค้าน โดยทั้ง ๒ ฝ่ายจะมีผู้พูดฝ่ายละเท่าๆ กัน ฝ่ายเสนอจะมีหัวหน้าฝ่าย ๑ คน และมีผู้สนับสนุนฝ่ายเสนออีกไม่เกิน ๓ คน ซึ่งฝ่ายค้านก็เช่นเดียวกัน คือ มีหัวหน้าฝ่ายค้าน ๑ คน และผู้สนับสนุนฝ่ายค้านอีกไม่เกิน ๓ คน
๕. เวลา ซึ่งเวลาในการโต้วาทีจุถูกกำหนดขึ้นตามความเหมาะสม
การโต้วาที มีวิธีการ ดังนี้
๑. หัวหน้าฝ่ายเสนอเป็นฝ่ายเริ่มพูดก่อน โดยกล่าวทักทายผู้ฟัง เเล้วจึงพูดชี้เเจงหัวข้อที่จะโต้วาทีให้ชัดเจน พร้อมกับยกตัวอย่างประกอบ และต้องพูดในเวลาที่กำหนดให้ฦ
๒. หัวหน้าฝ่ายค้านกล่าวทักทายผู้ฟัง แล้วจึงพูดโต้เเย้งประเด้นของอีกฝ่ายเสนอพร้อมให้เหตุผลและพูดประเด็นฝ่ายตน แล้วจึงกล่าวสรุปประเด็นสำคัญ
๓. ผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอ พูดชี้ประเด็นสำคัญของฝ่ายเสนอ และโต้เเย้งประเด็นสำคัญของฝ่ายค้าน
๔. ผู้สนับสนุนฝ่ายค้าน พูดชี้ประเด็นสำคัญของฝ่ายตรงข้าม และโต้เเย้งประเด็นสำคัญของฝ่ายเสนอ
๕. วิธีการเสนอความคิดเห็น ให้ใช้วิธีการพูดสลับกันระหว่างฝ่านเสนอ และฝ่ายค้าน โดยหัวหน้าฝ่ายเสนอเริ่มพูดก่อน แล้งจึงให้หัวหน้าฝ่ายค้านพูด จากนั้นจึงให้ผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอพูดสลับกับผู้สนับสนุนฝ่ายค้าน จนหมดผู้พูด หัวหน้าฝ่ายค้านและหัวหน้าฝ่ายเสนอจึงกล่าวสรุปอีกครั้งหนึ่ง
การพูดของเเต่ละคนต้องพูดตามเวลาที่กำหนด เช่น หัวหน้าฝ่านเสนอ และหัวหน้าฝ่ายค้านพูดคนละ ๕ นาที ผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอและผู้สนับสนุนฝ่ายค้านพูกคนละ ๓ นาที แล้วให้หัวหน้าฝ่ายค้านและหัวหน้าฝ่ายเสนอ พูดสรุปอีกคนละ ๓-๕ นาทีเป็นต้น
๑. หัวหน้าฝ่ายเสนอเป็นฝ่ายเริ่มพูดก่อน โดยกล่าวทักทายผู้ฟัง เเล้วจึงพูดชี้เเจงหัวข้อที่จะโต้วาทีให้ชัดเจน พร้อมกับยกตัวอย่างประกอบ และต้องพูดในเวลาที่กำหนดให้ฦ
๒. หัวหน้าฝ่ายค้านกล่าวทักทายผู้ฟัง แล้วจึงพูดโต้เเย้งประเด้นของอีกฝ่ายเสนอพร้อมให้เหตุผลและพูดประเด็นฝ่ายตน แล้วจึงกล่าวสรุปประเด็นสำคัญ
๓. ผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอ พูดชี้ประเด็นสำคัญของฝ่ายเสนอ และโต้เเย้งประเด็นสำคัญของฝ่ายค้าน
๔. ผู้สนับสนุนฝ่ายค้าน พูดชี้ประเด็นสำคัญของฝ่ายตรงข้าม และโต้เเย้งประเด็นสำคัญของฝ่ายเสนอ
๕. วิธีการเสนอความคิดเห็น ให้ใช้วิธีการพูดสลับกันระหว่างฝ่านเสนอ และฝ่ายค้าน โดยหัวหน้าฝ่ายเสนอเริ่มพูดก่อน แล้งจึงให้หัวหน้าฝ่ายค้านพูด จากนั้นจึงให้ผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอพูดสลับกับผู้สนับสนุนฝ่ายค้าน จนหมดผู้พูด หัวหน้าฝ่ายค้านและหัวหน้าฝ่ายเสนอจึงกล่าวสรุปอีกครั้งหนึ่ง
การพูดของเเต่ละคนต้องพูดตามเวลาที่กำหนด เช่น หัวหน้าฝ่านเสนอ และหัวหน้าฝ่ายค้านพูดคนละ ๕ นาที ผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอและผู้สนับสนุนฝ่ายค้านพูกคนละ ๓ นาที แล้วให้หัวหน้าฝ่ายค้านและหัวหน้าฝ่ายเสนอ พูดสรุปอีกคนละ ๓-๕ นาทีเป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น